4 ขั้นตอนการทำ Digital Transformation ในองค์กรให้ประสบความสำเร็จ

4 ขั้นตอนการทำ Digital Transformation ในองค์กรให้ประสบความสำเร็จ

[Banana Tech] 4 Steps ขั้นตอนการทำ Digital Transformation ในองค์กร-02

บทความที่แล้วเราได้พูดถึงความสำคัญของ Digital Transformation กันไปแล้ว ว่าไม่ช้าก็เร็ว ทุกองค์กรก็ต้องทำเพื่อให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลง และไม่โดน Digital Disruption เล่นงาน ใครที่ยังไม่ได้อ่าน เข้าไปอ่านได้ที่นี่เลยครับ > Digital Transformation คืออะไร สำคัญมากแค่ไหน? และวันนี้เราก็จะมาพูดถึงขั้นตอนในการทำ Digital Transformation ว่าควรเริ่มตรงไหน วางแผนอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ เราสรุปมาให้เป็น 4 ขั้นตอนดังนี้ครับ

1. กำหนดจุดประสงค์ที่แน่ชัด

เป้าหมายของ Digital Transformation นั้น ควรจะมองเป็นภาพใหญ่มากกว่าการทำเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงเรื่องเดียว เพื่อที่เราจะได้ออกแบบโครงสร้างที่แก้ไขได้หลายปัญหา ซิงค์หลายเทคโนโลยีเข้าด้วยกันได้

เริ่มจากการวิเคราะห์ปัญหาขององค์กร และกำหนดจุดประสงค์ที่แน่ชัดว่าต้องการให้เทคโนโลยีเข้ามาแก้ไขหรือพัฒนาเรื่องอะไร โดยอาจเริ่มตั้งเป็น 3 คำถามหลัก Why, What, Who 

Why – ทำไมองค์กรเราต้องเปลี่ยนแปลง

จากการที่อินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีเข้ามาทำให้ทุกอย่างสะดวกสบาย คนจึงหันมาอยู่บนโลกออนไลน์กันมากขึ้น องค์กรเราควรพัฒนาหรือปรับปรุงด้านไหนบ้าง เพื่อไม่ให้ธุรกิจเสียโอกาส และสามารถก้าวทันหรือไปได้ไกลกว่าคู่แข่ง เช่น

  • ต้องการแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงสินค้าได้ง่ายขึ้น ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทันที และช่วยลดต้นทุนในการขยายสาขาหรือหน้าร้าน
  • ต้องการพัฒนากระบวนการทำงานในองค์กรให้ง่ายและเร็วขึ้น แต่ให้มีประสิทธิภาพและแม่นยำกว่าเดิม ลดงาน routine ให้เทคโนโลยีเข้ามาทำแทน เพื่อนำเวลาไปพัฒนาธุรกิจในด้านอื่นๆ
  • ต้องการให้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยจัดระบบ Data ขององค์กร และนำมาใช้วิเคราะห์ธุรกิจให้เกิดประโยชน์สูงสุด
What – เป้าหมายคืออะไร

ตั้งเป้าหมายทั้งระยะยาว และระยะสั้น กำหนดว่าอะไรต้องแก้หรือทำเป็นอันดับแรก และเราต้องการความรู้หรือ Skills ด้านไหนเพิ่มเติม เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้บ้าง

โดยเป้าหมายของ Digital Transformation นั้น ควรจะมองเป็นภาพใหญ่มากกว่าการทำเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงเรื่องเดียว เพื่อที่เราจะได้ออกแบบโครงสร้างที่แก้ไขได้หลายปัญหา ซิงค์หลายเทคโนโลยีเข้าด้วยกันได้ และสามารถต่อยอด แตกแขนงอื่นๆ ออกไปได้ง่าย 

เป้าหมายหลักๆ ก็ได้แก่ 

  • เพื่อพัฒนา User Experience ของลูกค้า ให้ลูกค้าเกิด Brand Loyalty 
  • ลดต้นทุนทางธุรกิจ เพิ่มประสิทธิภาพงาน ปรับโครงสร้างองค์กรให้มีความยืดหยุ่น คล่องตัว และ Cost Effective
  • นำ Data มาช่วยในการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Who – เราต้องการความร่วมมือจากใครบ้าง

ตรงนี้อาจประกอบไปด้วยทั้งพนักงานภายในและ Outsource นะครับ เช่น

  • ดูว่าบริษัทมีพนักงานด้านไหนอยู่แล้วบ้าง ที่จะเข้ามาดำเนินการ Digital Transformation นี้ได้ 
  • ถ้าพนักงานภายในของเรายังไม่พร้อม ก็ต้องไปพิจารณาจ้างบริษัท Outsource กันต่อ ซึ่งก็คือบริษัทซอฟต์แวร์นั่นเองครับ
  • อย่าลืมนึกถึงหน้าที่อื่นๆที่ไม่ใช่ด้านเทคโนโลยีโดยตรง เช่น ใครจะเป็นคนเก็บข้อมูลอินไซท์ ใครเป็นผู้จัดทำ KPI ฯลฯ
  • กำหนดผู้นำของงานแต่ละส่วนให้ชัดเจน

แค่ข้อแรกก็ดูยุ่งยากแล้วใช่ไหมครับ เพราะบางทีเราก็มีไอเดียฟุ้งๆ อยากให้คนมาช่วยจัดการดูแล ให้ไอเดียนั้นชัดเจนมากขึ้น Banana Technologies จึงตั้งใจเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ที่ทำมากกว่าการพัฒนาระบบ เราจะเข้าไปช่วยลูกค้าคิด ควบคุม ประสานงานตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1 ไปจนงานเสร็จเลย ดังนั้นถึงแม้จะยังไม่มีจุดประสงค์แน่ชัด ก็มาปรึกษาเราก่อนได้นะครับ

2. เก็บข้อมูลอินไซท์ 

ขั้นตอนนี้สำคัญมากเลยนะครับ กับการเก็บข้อมูลจาก User ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร พนักงาน หรือลูกค้า เพราะหัวใจของการทำ Digital Transformation คือการเป็น User-centered design หรือการให้ความสำคัญกับความต้องการของ User เป็นหลักนั่นเอง

ความต้องการนี้ไม่ใช่แค่เรื่องผิวเผินที่ User เล่าให้เราฟังเท่านั้น เราต้องมองไปให้ลึกถึงความต้องการที่ซ่อนอยู่ (Hidden Need) ซึ่ง User อาจไม่ได้บอกเราเพราะเขาคิดไม่ถึงด้วยซ้ำว่าต้องการสิ่งนั้น บ้างก็เกิดจากความเคยชิน หรือไม่เห็นภาพว่าอะไรจะมาช่วยแก้ปัญหาของเขาได้ ยกตัวอย่าง Hidden Need ก็เช่น เมื่อก่อนถ้าเราจะเรียกแท็กซี่ให้มารับที่บ้าน เราต้องโทรหาคอลเซนเตอร์ แล้วคนขับแท็กซี่ก็จะโทรกลับมาหาเรา เราต้องอธิบายพิกัดบ้านผ่านโทรศัพท์ งงบ้าง หลงบ้าง ถึงจะติดๆ ขัดๆ แต่ก็คิดว่าไม่มีทางเลือกอื่น ส่วนคนขับแท็กซี่ถ้าเจอบ้านหายากๆ ก็คงรู้สึกลำบาก เสียเวลาอยู่บ้าง แต่ก็คิดว่าไม่มีทางเลือกเช่นกัน… จนกระทั่งมี Uber มี Grab เราถึงเพิ่งรู้ว่านี่คือความต้องการของเรา ผู้โดยสารสบายขึ้น คนขับก็ทำงานสะดวก พิกัดรับ-ส่งแม่นยำ นี่แหละคือ Hidden Need ที่การทำ Digital Transformation ต้องหาให้เจอครับ

3. สร้างโซลูชั่น และทดลองใช้

เริ่มสร้างโซลูชั่น ซึ่งบางโปรเจคอาจมีการใช้ซอฟต์แวร์หรือเทคโนโลยีหลายอย่างร่วมกัน อาจมีทั้งเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ ร่วมกับการใช้โปรดักสำเร็จรูปที่มีวางขายอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของโปรเจค 

หลังจากสร้างโซลูชั่นแล้ว ก็ให้คนทดลองใช้ คอมเมนต์ และปรับแก้ให้ตอบโจทย์ User มากที่สุด

4. Launch เริ่มใช้งานจริง

มาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะคิดว่างานจบแล้ว แค่นี้บริษัทก็เปลี่ยนเป็นดิจิทัลแล้วล่ะ… แต่จริงๆ เราเพิ่งมาถึงแค่ครึ่งทางเองครับ เพราะงานที่เหลือคือการทำให้ User ยอมเปลี่ยนจากแพลตฟอร์มเดิม วิธีการเดิมๆ มาใช้เทคโนโลยีใหม่ที่เราสร้างขึ้น ซึ่งหลาย Digital Transformation มาตกม้าตายตรงนี้เอง 

ก่อนอื่น ส่วนที่สำคัญคือทีมผู้บริหารและเมเนเจอร์ จะต้องเป็นผู้ผลักดัน สร้างแรงบันดาลใจ ให้พนักงานรู้สึกว่าการเปลี่ยนแปลงนี้สำคัญ และพวกเขาจะเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ในองค์กร 

ในส่วนของลูกค้า เราก็อาจใช้ทั้งการประชาสัมพันธ์ผ่านเซลล์ การโฆษณา ใช้ Influencer หรือการให้โปรโมชั่นเมื่อดาวน์โหลดแอพฯ เป็นต้น

โดยการเปลี่ยนมาใช้ระบบใหม่นั้น ก็สามารถทำได้ทั้งแบบค่อยเป็นค่อยไป เปลี่ยนทันที หรือแบ่งทีมไปทดลองใช้ก่อนก็ได้เหมือนกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเร่งด่วนของปัญหาและสเกลของบริษัท 

เมื่อเริ่มใช้จริงแล้ว ก็อย่าลืมนำ KPI ที่เราทำไว้มาวัดผลกันด้วยนะครับ

และนี่ก็เป็น 4 ขั้นตอนของการทำ Digital Transformation ในองค์กร ซึ่งเชื่อว่าหลายคนอ่านแล้วคงท้ออยู่เหมือนกันว่าน่าจะเป็นโปรเจคใหญ่ ใช้เวลาและต้นทุนเยอะแน่ๆ แต่เรายืนยันครับว่าผลลัพธ์ที่ออกมาจะคุ้มค่า ถ้าวางแผน วางระบบอย่างดี การทำ Digital Transformation จะช่วยทั้งลดต้นทุน เพิ่มรายได้ ลดความเสี่ยง คืนกำไรให้องค์กรมากกว่าที่จ่ายไปอย่างแน่นอน

Leave A Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *